ข้อใดคือการแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งที่ถูกต้อง
แบบทดสอบพระราชบัญญัติการชุมนุม

Quiz
•
Other
•
University
•
Hard
เพจกฎหมายสำหรับสอบตำรวจ Woody Law
FREE Resource
10 questions
Show all answers
1.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
2 mins • 1 pt
แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แจ้งทางโทรสาร
แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง แจ้งทางโทรศัพท์ แจ้งทางโทรสาร
แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง แจ้งทางโทรสาร แจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แจ้งทางโทรศัพท์
Answer explanation
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวิธีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 โดยที่การจัดการชุมนุมสาธารณะไม่ต้องมีการขออนุญาต แต่ต้องแจ้งการชุมนุมสาธารณะนั้น ต่อผู้รับแจ้งตามกฎหมาย จึงสมควรกําหนดวิธีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ให้เกิดความสะดวกแก่ผู้แจ้ง และเป็นข้อมูลแก่ผู้รับแจ้ง เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชน หรือคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบสิทธิ และเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
ข้อ 2 ผู้ใดประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้รับแจ้งซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตํารวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะตามแบบท้ายประกาศนี้ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง
กรณีประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะในท้องที่ของสถานีตํารวจต่าง ๆ เกินกว่าหนึ่งท้องที่ ซึ่งมีเขตต่อเนื่องกัน ให้แจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้งในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดก็ได
ข้อ 3 ภายใต้บังคับของข้อ ๒ การแจ้งให้ดําเนินการโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง
(๒) แจ้งทางโทรสาร
(๓) แจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น การแจ้งจะจัดการชุมนุมสาธารณะ ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้รับแจ้งซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตํารวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะตามแบบที่กำหนดไว้ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยการแจ้งให้ดำเนินการได้ 3 วิธี คือ (๑) แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง (๒) แจ้งทางโทรสาร และ(๓) แจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อพิจารณาคำตอบ จะเห็นว่า คำตอบ ค. เป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศดังกล่าว
สรุป คำตอบ ค. เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
2.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
2 mins • 1 pt
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชน การดูแลการชุมนุมสาธารณะและการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ข้อใดผิด
อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นสถานที่ชุมนุม
รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวก หรือบรรเทาเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ชุมนุม
รักษาความปลอดภัยหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมในสถานที่ชุมนุม
ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
Answer explanation
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความสะดวกของประชาชน การดูแลการชุมนุมสาธารณะและการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นสถานที่ชุมนุม
(2) รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวก หรือบรรเทาเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ชุมนุม
(3) รักษาความปลอดภัยหรือความอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุมในสถานที่ชุมนุม
(4) อำนวยความสะดวกในการจราจรและการขนส่งสาธารณะในบริเวณที่มีการชุมนุมและบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่น้อยที่สุด
(5) กำหนดเงื่อนไขหรือมีคำสั่งให้ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม หรือผู้อยู่ภายในสถานที่ชุมนุมต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
ดังนั้น การดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา 19 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัตินี้
สรุป คำตอบ ง. เป็นคำตอบที่ผิด
3.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
2 mins • 1 pt
ในกรณีมีการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบหรือฝ่าฝืนกฎหมายตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเลิกหรือแก้ไขการชุมนุมภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ จะปฏิบัติอย่างไร
ร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือ เพื่อมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุมสาธารณะนั้น
เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีอำนาจสั่งให้ผู้ชุมนุมยติการกระทำนั้น
ร้องขอต่อศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือ เพื่อมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุม
แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้มีคำสั่งเลิกการชุมนุมสาธารณะ
Answer explanation
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 21 บัญญัติว่า ในกรณีมีการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 14 หรือกรณีผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 8 มาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 หรือมาตรา 18 ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๔ หรือไม่เลิกการชุมนุมภายในระยะเวลาที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้รับแจ้งตามมาตรา ๑๘ ให้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒) กรณีผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ ให้ประกาศให้ผู้ชุมนุมแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะนั้น ในระหว่างรอคำสั่งศาลให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีอำนาจกระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการดูแลการชุมนุมสาธารณะที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนและคุ้มครองการชุมนุมสาธารณะ
ดังนั้น เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะจะต้องปฏิบัติ โดยร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ ตามาตรา 21 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
สรุป คำตอบ ก. ร้องขอต่อศาลฯ
4.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
2 mins • 1 pt
ข้อใดกล่าวผิด
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งผู้รับแจ้งแต่งตั้งหรือมอบหมายให้รับผิดชอบในการรับหรือส่งหนังสือหรือดำเนินการเกี่ยวกับการรับแจ้งการชุมนุมสาธารณะของหน่วยงาน
ผู้ใดประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้รับแจ้ง ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ให้ดำเนินการได้โดย 4 วิธี
กรณีประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะในท้องที่ของสถานีตำรวจต่าง ๆ เกินกว่าหนึ่งท้องที่ซึ่งมีเขตต่อเนื่องกันให้แจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้รับแจ้งในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดก็ได้
Answer explanation
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวิธีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ข้อ 2 กำหนดว่า ผู้ใดประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้รับแจ้งซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตํารวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะตามแบบท้ายประกาศนี้ ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง … และข้อ 3 กำหนดว่า ภายใต้บังคับของข้อ ๒ การแจ้งให้ดําเนินการโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง (๒) แจ้งทางโทรสาร (๓) แจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ให้ดําเนินการโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งโดยตรงต่อผู้รับแจ้ง (๒) แจ้งทางโทรสาร (๓) แจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะเห็นได้ว่า การแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ให้ดำเนินการได้โดย 3 วิธี ตาม ข้อ 3 ของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
สรุป คำตอบ ค. เป็นคำตอบที่ผิด
5.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
2 mins • 1 pt
ข้อใดกล่าวถึงหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมไม่ถูกต้อง
ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ตลอดจนดูแลและรับผิดชอบให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติตามมาตรา 16
ไม่ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดหรือระดับเสียง
ไม่ปราศรัยหรือจัดกิจกรรมในการชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา 23.00 น. ถึง 08.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
Answer explanation
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 15 บัญญัติว่า ผู้จัดการชุมนุมมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
(2) ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้สาธารณะ ตลอดจนดูแลและรับผิดชอบให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติตามมาตรา 16
(๓) แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ของผู้ชุมนุมตามมาตรา ๑๖ และเงื่อนไขหรือคำสั่ง
ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ
(๔) ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะในการดูแลการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปตาม (๑) และ (๒)
(๕) ไม่ยุยงส่งเสริมหรือชักจูงผู้ชุมนุมเพื่อให้ผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๖
(๖) ไม่ปราศรัยหรือจัดกิจกรรมในการชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น
(๗) ไม่ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดหรือระดับเสียงตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด
ดังนั้น เมื่อพิจารณาคำตอบ ง. ไม่ปราศรัยหรือจัดกิจกรรมในการชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา 23.00 น. ถึง 08.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ตามาตรา 15 (6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ผู้จัดการชุมนุมมีหน้าที่ไม่ปราศรัยหรือจัดกิจกรรมในการชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียงในระหว่างเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น
สรุป คำตอบ ง. เป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้อง
6.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
2 mins • 1 pt
ข้อใดมิใช่บทบาทของฝ่ายปกครอง ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558
อาจจัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะก็ได้
ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่เมื่อได้รับคำร้องขอจากเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ
ปฏิบัติตามแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ (ตามมติ ครม. 25 ส.ค.58)
เป็นเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ
Answer explanation
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
มาตรา 4 กำหนดว่า “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐบาล องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอื่นของรัฐ
มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐอาจจัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะก็ได้
มาตรา 19 วรรคแรก กำหนดว่า ให้หัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ เป็น เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้แจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะหรือหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐหรือเอกชนในท้องที่นั้นเพื่อทราบ
มาตรา 19 วรรคหก กำหนดว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะร้องขอ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะดำเนินการตาม คำร้องขอภายในขอบอำนาจหน้าที่ของผู้นั้น
มาตรา 21 วรรคสอง กำหนดว่า หากผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะร้องขอต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะนั้น ในระหว่างรอคำสั่งศาลให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ มีอำนาจกระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการดูแลการชุมนุมสาธารณะที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนและคุ้มครองการชุมนุมสาธารณะ (ต่อมาจึงมี “แผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558” โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558)
ดังนั้น หัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานฝ่ายปกครองจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 19 วรคคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
สรุป คำตอบ ง. เป็นคำตอบที่ผิด
7.
MULTIPLE CHOICE QUESTION
30 sec • 1 pt
พระราชบัญญัติการชุมสาธารณะ พ.ศ.2558 สอดคล้องกับพันธะกรณีระหว่างประเทศข้อใดมากที่สุด
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่ประเทศไทยเป็นภาคี
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเป็นภาคี
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือ
ยำยีศักดิ์ศรีที่ประเทศไทยเป็นภาคี
Answer explanation
พระราชบัญญัติการชุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 63 ก หน้า 19 วันที่ 14 กรกฏาคม 2558 เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจานุเบกษาเป็นต้นไปให้ใช้บังคับ มี 5 หมวด 35 มาตรา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจนและโดยสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR)ทั้งนี้ เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีตลอดจนสุขอนามัยของประชาชนหรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ และไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ดังนั้น พระราชบัญญัติการชุมสาธารณะ พ.ศ.2558 สอดคล้องกับพันธะกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี
สรุป คำตอบ ก. เป็นคำตอบที่ถูกต้องมากที่สุด
Create a free account and access millions of resources
Similar Resources on Quizizz
10 questions
การเขียนโครงการและรายงานการปฏิบัติงาน

Quiz
•
University
10 questions
แบบทดสอบมาลาเรีย 2566

Quiz
•
University
10 questions
Role physical therapy

Quiz
•
University
14 questions
การตรวจค้น และการจับกุม

Quiz
•
University
10 questions
Posttest IA ISO 45001

Quiz
•
University
15 questions
law นิติกรรม

Quiz
•
University
15 questions
พ.ร.บ.โรงแรม

Quiz
•
University
10 questions
อวัจนภาษา/วัจนภาษา

Quiz
•
University
Popular Resources on Quizizz
10 questions
Chains by Laurie Halse Anderson Chapters 1-3 Quiz

Quiz
•
6th Grade
20 questions
math review

Quiz
•
4th Grade
15 questions
Character Analysis

Quiz
•
4th Grade
12 questions
Multiplying Fractions

Quiz
•
6th Grade
30 questions
Biology Regents Review #1

Quiz
•
9th Grade
20 questions
Reading Comprehension

Quiz
•
5th Grade
20 questions
Types of Credit

Quiz
•
9th - 12th Grade
50 questions
Biology Regents Review: Structure & Function

Quiz
•
9th - 12th Grade
Discover more resources for Other
10 questions
Identifying equations

Quiz
•
KG - University
15 questions
Disney Trivia

Quiz
•
KG - 5th Grade
20 questions
Disney Characters

Quiz
•
KG
10 questions
Pixar Short "Piper"

Quiz
•
KG - 2nd Grade
20 questions
Kids shows

Quiz
•
KG
20 questions
Guess that Disney

Quiz
•
KG - 5th Grade
20 questions
Cartoon Characters!

Quiz
•
KG - 5th Grade
20 questions
Logos

Quiz
•
KG